วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559

แมลงสาบร้ายกว่าที่คิด




แมลงสาบ  ร้ายกว่าที่คุณคิด
           บทความนี้ผมขอเขียนถึง แมลงสาบที่หลาย ๆ คนทั้งเกียจและขยะแขยงมาก  มันมีเชื้อโรคมากมายอยู่ในตัว  อีกทั้งกลิ่นที่เหม็นเหลือเกิน รวมทั้งทำลายร้างเสื้อผ้า    ทุกท่านอย่าคิดนะครับว่าแมลงสาปไม่กัด  เจ้านี่แหละจะกัดหรือเข้าหูพวกเราเวลาเราหลับ  หรือไม่ทันได้ระมัดระวัง  ถ้าเป็นเช่นนี้ ผมว่าเรามารู้จักเรื่องราวต่าง ๆ ของแมลงสาปกันดีกว่า
แมลงสาบ (อังกฤษ: Cockroach) เป็นแมลงที่อยู่ในอันดับ Blattodea หรือ Blattaria จัดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตไม่สมบูรณ์  คือ ไม่เป็นตัวหนอนและดักแด้ ปัจจุบันเป็นแมลงที่พบกระจายไปแล้วทั่วโลก 


แมลงสาบ (อังกฤษ: Cockroach) เป็นแมลงที่อยู่ในอันดับ Blattodea หรือ Blattaria จัดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตไม่สมบูรณ์  คือ ไม่เป็นตัวหนอนและดักแด้ ปัจจุบันเป็นแมลงที่พบกระจายไปแล้วทั่วโลก   แมลงสาบมีปากเป็นแบบกัด มีนิสัยชอบกัดทำลายสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้านและมีกลิ่นเหม็นเฉพาะซึ่งขับออกมาจากต่อม  และเนื่องจาก     แมลงสาบสามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิดทั้งพืชและสัตว์ ตั้งแต่อาหารที่สกปรก  ของเน่าเสียตามกองขยะ  จนถึงอาหารที่คนกินเข้าไปด้วย  ในการนำโรคของแมลงสาบ  เชื้อโรคสามารถติดมาตามตัวหรืออยู่ภายในกระเพาะของแมลงสาบได้  เวลาที่แมลงสาบกินหรือเดินผ่านอาหาร  ก็จะสำรอกหรือไม่ก็ถ่ายลงบนอาหารนั้นด้วย  ทำให้ผู้กินอาหารได้รับเชื้อโรค  และเจ็บป่วยได้  ซึ่งโรคที่แมลงสาบมีการแพร่เชื้อมีดังนี้
1.เป็นพาหะนำโรค  ทั้ง  PROTOZOA, BACTERIA  และ  VIRUS  ถึง  40  ชนิด
พบเชื้อรามีพิษ  และไข่พยาธิบางชนิด
หนอนพยาธิ  ไข่ของพยาธิที่ตรวจพบในอุจจาระของแมลงสาบมีพวก  กไข่พยาธิเข็มหมุด , ไข่พยาธิปากขอ , กไข่พยาธิไส้เดือน , ไข่พยาธิตัวตืด , ไข่พยาธิตัวจี๊ด
พวกโปรโตซัว  ที่พบได้แก่  Giardia  lambia,    Balantidium  coli,    Entamoeba  histolytica
                   พวกแบคทีเรีย  Salmonella,  Poliomyelitis  Infectious  hepatitis
                   พวกไวรัส  ( VIRUS )  เช่น  Poliomyelitis    Infectious  hepatitis
                   พวกเชื้อรา  พบว่ามีติดมาตามขา,  ปีก,  ลำตัวและปาก  ฯลฯ 
2.  เป็นตัวกลางของพยาธิบางชนิด  ( INTERMEDIATE  HOST )  เช่น  พยาธิตัวตืดบางชนิด Hymenolepis  nana,  และ Raillietina  spp.
3.  ทำให้เกิดอาการแพ้  พวกเศษของปีกหรือชิ้นส่วนต่าง    ของแมลงสาบ  ถ้าหายใจเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้

  ขอขอบคุณ  สำนักงานเลขานุการกรมอนามัย  www.anamai.moph.go.th


บริษัท แอนเทอร์ จำกัด 
บริการกำจัดแมลง  ปลวก  มด หนู และแมลงสาบ
32/3 หมู่1 ซ.นนทบุรี 22 ถ.นนทบุรี ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี
โทรศัพท์:   0 2968 0711
โทรสาร:    0 2968 0712
อีเมล:       niran_anter@hotmail.com
มือถือ     นิรันดร์  ศิริอาภรณ์ธรรม  081-641-8183




วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปลวก และ การป้องกันกำจัด


ปลวก ปลวก ปลวก   

บริษัทแอนเทอร์ จำกัด  ขอนำสาระดี ๆ จากหนังสือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปลวก และการป้องกันกำจัดปลวก                            
    บริษัทแอนเทอร์ จำกัด       ขอขอบพระคุณดร.จารุณี  วงศ์ข้าหลวง และ ดร.ยุพาพร  สรนุวัตร  
ที่เผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนได้ทราบ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปลวก และ การป้องกันกำจัด
คำนำ
หนังสือฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ทั่วไปที่เกี่ยวกับปลวก ทั้งในด้านชีววิทยา นิเวศวิทยา ประโยชน์และโทษที่เกิดจากปลวก ตลอดจนแนวทางในการป้องกันและกำจัดปลวกที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อไม้ไปใช้ประโยชน์ในอาคารบ้านเรือน และเพื่อให้ประชาชนสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ในการป้องกันและกำจัดปลกได้ด้วยตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความสูญเสียจากการเข้าทำลายของปลวกลง และเพื่อช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของประเทศด้วยอีกทางหนึ่ง

คณะผู้จัดทำ
ดร.จารุณี  วงศ์ข้าหลวง
ดร.ยุพาพร  สรนุวัตร
โทร. 0-2579-8604, 0-2516-4292-3 ต่อ 483, 487




คำนำ
ปลวกเป็นแมลงที่มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจมาก มีทั้งคุณและโทษ ในแง่ประโยชน์ปลวกจัดเป็นส่วนหนึ่งของสังคมป่าไม้ที่สำคัญมาก เป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลายในระบบนิเวศโทษของปลวกนั้นเกิดขึ้นเพราะว่า ปลวกเป็นแมลงที่ต้องการเซลลูโลสเป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิต และโดยที่เซลลูโลสนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเนื้อไม้ ดังนั้นเราจึงพบปลวกเข้าทำความเสียหายอย่างรุนแรงให้แก่ไม้ หรือโครงสร้างไม้ภายในอาคารบ้านเรือน รวมถึงวัสดุข้าวของเครื่องเรือน เครื่องใช้ต่างๆที่ทำมาจากไม้และผลิตภัณฑ์อื่นๆที่มีเซลลูโลสเป็นส่วนประกอบ

ในประเทศไทยมีปลวกแพร่กระจายอยู่กว่าหนึ่งร้อยชนิด แต่มีเพียงสิบกว่าชนิดเท่านั้นที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อไม้ที่นำไปใช้ประโยชน์ ปลวกใต้ดินจัดเป็นปลวกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงที่สุด โดยก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนคิดเป็นมูลค่าปีละหลายลิบล้านบาทการเข้าทำลายของปลวกชนิดนี้จะเริ่มขึ้นจากปลวกที่อาศัยอยู่ใต้พื้นดิน ทำท่อทางเดินดินทะลุขึ้นมาตารอยแตกแยกของพื้นคอนกรีต หรือรอยเชื่อมต่อระหว่างผนัง เสา และคานไม้ พื้นปาร์เก้ คร่าว เพดาน คร่าวฝา ไม้วงกบประตู และหน้าต่าง เป็นต้น

ในการดำรงชีวิตของปลวกใต้ดิน นอกจากอาหารแล้วความชื้นเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของปลวกอีกประการหนึ่ง ข้อมูลทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวกนี้ ช่วยให้สามารถวางแผน และวางแนวทางในการป้องกัน และกำจัดปลวกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวิธีดำเนินการหลายวิธี เช่น การทำให้พื้นดินใต้อาคารเป็นพิษ การทำแนวป้องกันใต้อาคารที่ปลวกใต้ดินไม่สามารถเจาะผ่านได้ หรือการทำให้เนื้อไม้เป็นพิษปลวกใช้เป็นอาหารไม่ได้การดำเนินการมีทั้งการใช้สารเคมีและไม่ใช้สารเคมี ซึ่งขั้นตอนในการป้องกันกำจัดปลวกนี้ประชาชนทั่วไปสามารถจะนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เพื่อช่วยลดความเสียหายและช่วยยืดอายุการใช้ประโยชน์ไม่ให้คงทนถาวรขึ้น ตามรายละเอียดที่จะกล่าวถึงต่อไป

ชีวิตความเป็นอยู่ และวงจรชีวิตของปลวก
ปลวกเป็นแมลงที่มีชีวิตความเป็นอยู่แบบสังคม มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ภายในรังโดยทั่วไปมีนิสัยไม่ชอบแสงสว่าง ชอบที่มืดและอับชื้น ประชากรปลวกมีการแบ่งแยกหน้าที่การทำงานออไปเป็นวรรณะต่างๆ รวม วรรณะคือ
ประกอบด้วยตัวเต็มวัยที่มีปีกทั้งเพศผู้และเพศเมีย ทำหน้าที่สืบพันธุ์และกระจายพันธุ์โดยจะบินออกจากรังเมื่อดินฟ้าอากาศเหมาะสม เพื่อจับคู่กันและจะสลัดปีก ผสมพันธุ์กันและหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อวางไข่
เป็นปลวกตัวเล็กสีขาวนวลไม่มีปีก ไม่มีเพศ ไม่มีตา ใช้หนวดเป็นอวัยวะรับความรู้สึกคลำทาง ทำหน้าทีเกือบทุกอย่างภายในรัง เช่น หาอาหารมาป้อนราชินี ราชา ตัวอ่อนและทหารซึ่งไม่หาอาหารกินเองนอกจากนี้ยังทำหน้าที่สร้างรัง ทำความสะอาดรัง ดูแลไข่เพาะเลี้ยงเชื้อราและซ่อมแซมรังที่ถูกทำลาย
รูปภาพ แมลงเม่า ราชินี ปลวกกรรมกรหรือปลวกงาน
เป็นปลวกที่มีหัวโต สีเข้ม และแข็งมีกรามขนาดใหญ่ ซึ่งดับแปลงไปเป็นอวัยวะคล้ายคีมที่มีปลายเหลมคมเพื่อใช้ในการต่อสู้กับศัตรูที่มารบกวนสมาชิกภายในรัง ไม่มีปีก ไม่มีตา ไม่มีเพศบางชนิดจะดัดแปลงส่วนหัวให้ยื่นยาวออกไปเป็นงวง เพื่อกลั่นสารเหนียวปล่อยหรือพ่นไปติดตัวศัตรูทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ หรืออาจทำให้ตายได้

ลักษณะปลวกทหารในสกุลต่างๆ ที่พบเสมอในประเทศ
 รูปภาพ Coptotermes, Macrotermes, Odontotermes, Microcerotermes, Globitermes, Cryptotermes, Ancistrotermes, Termes และ Nasutitermes


การสร้างอาณาจักรหรือนิคมของปลวก
เริ่มต้นขึ้นเมื่อฤดูการเหมาะสม ส่วนใหญ่มักเป็นช่วงหลังฝนตกปีละประมาณ 2-3 ครั้งโดยแมลงเม่าเพศผู้และเพศเมีย (Alate or winged reproductive male of female) บินออกจากรังในช่วงเวลาพลบค่ำประมาณ 18.30-19.30 . เพื่อมาเล่นไฟจับคู่ผสมพันธุ์กันจากนั้นจึงสลัดปีกทิ้งไป แล้วเจาะลงไปสร้างรังในดินในบริเวณที่มีแหล่งอาหารและความชื้น หลังจากปรับสภาพดินเป็นที่อยู่แล้วประมาณ 2-31 วันจึงเริ่มวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆและจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจถึงวันละหลายพันฟอง ไข่จะฝักออกมาเป็นตัวอ่อน (Larva) และจะเจริญเติบโตโดยมีการลอกคราบจนเป็นตัวเต็มวัย ไข่รุ่นแรกจะฝักออกมาเป็นปลวกไม่มีปีกและเป็นหมันสารเคมีที่เรียกว่าฟีโรโมนหรือสารที่ผลิตออกมาจากทวารหนักของราชินี เพื่อให้ตัวอ่อนเกิดจะเป็นตัวกำหนดให้ตัวอ่อนพัฒนาไปเป็นปลวกวรรณะต่างๆเช่นปลวกงาน (Worker) ปลวกทหาร (Soldier) โดยบางส่วนของตัวอ่อนจะเจริญไปเป็นปลวกที่มีปีกสั้น ไม่สมบูรณ์ ซึ้งอยู่ในช่วงระยะเจริญพันธุ์ (Nymphs) เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะเจริญไปเป็นแมลงเม่า ซึ่งมีปีกยาวสมบูรณ์เต็มที่บินออกไปผสมพันธุ์ต่อไป ตัวอ่อนบางส่วนจะเจริญเติบโตเป็นปลวกวรรณะสืบพันธุ์รอง (Supplementary Queen and king)  ซึ่งทำหน้าที่ผสมพันธุ์และอกไข่ เพิ่มจำนวนประชากร ในกรณีที่ราชา (King) หรือราชินี (Queen) ของรังถูกทำลายไป

วงจรชีวิตของปลวก
 ภาพแสดงวงจรชีวิตของปลวก หรือ วงจรชีวิตปลวก (Termite Life Cycle)


นิเวศวิทยาของปลวก
    สภาพความเป็นอยู่ หรือสภาพทางนิเวศวิทยา รวมถึงอุปนิสัยในการกินอาหารของปลวกแตกต่างกันออกไป แล้วแต่ชนิดและประเภทของปลวก ซึ่งสามารถจำแนกอย่างกว้างๆเป็น2 ประเภท โดยใช้แหล่งที่อยู่อาศัยเป็นหลักได้ ดังนี้
ปลวกชนิดนี้ตลอดชีวิตจะอาศัยและกินอยู่ภายในเนื้อไม้ โดยมีการสร้างทางเดินมาติดต่อกับพื้นดินเลย ลักษณะทั่วไปที่บ่งชี้มีปลวกในกลุ่มนี้เข้าทำลายไม้คือ วัสดุแข็งเป็นเม็ดกลมรีอยู่ภายในเนื้อไม้ที่ถูกกินเป็นโพรง หรืออาจร่วงหล่นออกมาภายนอกตามรูที่ผิวไม้ เราอาจแบ่งปลวกประเภทนี้เป็นกลุ่มย่อยลงไปอีกตามลักษณะความชื้นของไม้ที่ปลวกเข้าทำลาย ดังนี้
ปลวกชนิดนี้อาศัยอยู่ในไม้ที่แห้งหรือไม้ที่มีอายุใช้การมานานลีความชื้นต่ำ โดยปกติมักจะไม่ค่อยเห็นตัวปลวกชนิดนี้อยู่นอกชิ้นไม้ แต่จะพบวัสดุแข็งรูปกลมรี ก้อนเล็กๆกองอยู่บนพื้นบริเวณโคนเสาฝาผนัง หรือโครงสร้างไม้ที่ถูกทำลาย โดยทั่วไปปลวกชนิดนี้จะทำลายไม้เฉพาะภายไนชิ้นไม้โดยเหลือชิ้นไม้ด้านนอกเป็นฟิล์มบางๆไว้ ทำไห้มองดูภายนอกเหมือนไม้ยังอยู่ในสภาพดี
ปลวกชนิดนี้มักอาศัยและกินอยู่ในเนื้อไม้ของไม้ยืนต้น หรือไม้ล้มตายที่มีความชื้นสูง
ปลวกไม้แห้ง และ ปลวกไม้เปียก

ปลวกประเภทนี้จะอาศัยอยู่ในดิน แล้วออกไปหาอาหารที่อยู่ตามพื้นดินหรือเหนือพื้นดินขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะทำท่อทางเดินดินห่อหุ้มตัว เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น และ หลบซ่อนตัวจากศัตรูที่จะมารบกวน จำแนกเป็น3พวก คือ
เป็นปลวกที่อาศัยและทำรังอยู่ใต้ดิน เช่น ปลวกในสกุล Coptotermes, Microtermes, Ancistrotermes และ Hypotermes เป็นต้น
Coptotermes Gestroi เป็นปลวกใต้ดินที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมากที่สุด
Microtermes Obesi และ Hypotermes Makhamensis



เป็นปลวกที่สร้างรังขนาดกลางถึงขนาดใหญ่อยู่บนพื้นดินเช่นปลวกในสกุล Globitermes, Odontotermes และ Macrotermes เป็นต้น

ลักษณะจอมปลวกขนาดใหญ่ของปลวกชนิดต่างๆ
Globitermes Sulphureus, Hypotermes Makhamensis, Macrotermes Carbonarius, Macrotermes Gilvus, Odontotermes Feae, Odontotermes Longignathus

เป็นปลวกที่สร้างรังขนาดเล็กอยู่บนดินหรือเหนือพื้นดิน เช่น ตามกิ่งไม้ ต้นไม้ เสาไฟฟ้า หรือโครงสร้างอื่นๆ ภายในอาคาร เช่น ปลวกในสกุล Microcerotermes, Termes, Dicuspiditermes, Nasutitermes และ Hospitalitermes เป็นต้น


ลักษณะจอมปลวกขนาดเล็กของปลวกชนิดต่างๆ
Termes, Dicuspiditermes, Microcerotermes, Nasutitermes



การกินอาหารของปลวก
1.      ไม้ (wood)
2.      ดินและฮิวมัส (Soil and Moss )
3.      ใบไม้และเศษซากพืชที่ทับถมอยู่บนพื้นดิน(Lave and litter)
4.      ไลเคนและมอส ( Lichen and Moss )

ปลวกส่วนใหญ่จะกินอาหารประเภทเนื้อไม้ เปลือกไม้ เศษไม้ ใบไม้ หรือวัสดุ อื่นๆ ที่มีเซลลูโลส เป็นองค์ประกอบ โดยในระบบทางเดินอาหารของปลวกจะมีสัตว์เซลล์เดียวคือ โปรโตซัวในปลวกชั้นต่ำ หรือมีจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย และเชื้อราในปลวกชั้นสูงซึ้งจะทำหน้าที่ช่วงในการย่อยอาหารประเภทเซลลูโลส หรือสารประกอบอื่นๆให้กลายเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายปลวก

ความสำคัญของปลวก
ปลวกเป็นแมลงที่มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจมากคือ มีทั้งประโยชน์และโทษ
ประโยชน์ที่ได้รับจากปลวก
ปลวกเป็นแมลงที่สำคัญมากในระบบนิเวศวิทยาป่าไม้  คือ
 1.   ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุต่างๆได้แก่ เศษไม้ ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ และส่วนต่างๆ ของพืช  ที่หักร่วงหล่อนหรือล้มตายทับถมอยู่ในป่า แล้วเปลี่ยนให้กลายสภาพเป็นฮิวมัสในดินเป็นกำเนิดของขบวนการหมุนเวียนของธาตุอาหารจากพืชไปสู่ดิน ทำไห้ดินอุดมสมบูรณ์ซึ่งจะส่งผลให้พรรณพืชทุกระดับในป่าธรรมชาติเจริญเติบโตสมบูรณ์ดี
2.      มีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ คือ นอกจากจะช่วยให้พืชในป่าเจริญเติบโตดี เป็นอาหารของสัตว์ป่าแล้ว ตัวปลวกเองยังเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนของสัตว์ขนาดเล็กหลายชนิด เช่น ไก่ นก กบ คางคก และสัตว์เลื่อยคลานต่างๆ ซึ่งจะเป็นอาหารของสัตว์ใหญ่ต่อไปเป็นทอดๆ
3.      เป็นแหล่งผลิตโปรตีนที่สำคัญของมนุษย์โดยปลวกบางชนิดสามารถสร้างเห็ดโคน ซึ่งเป็นอาหารอันโอชะ และมีราคาแพง สามารถเพิ่มรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรทั้งนี้โดนมีเชื้อราที่อยู่ร่วมกันภายในรังปลวกหลายชนิดช่วยในการผลิต
4.      จุลินทรีย์อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารปลวก ซึ่งสามารถผลิตเอนไซม์บางชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถนำมาพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ด้านการเกษตร อุตสาหกรรมหรือใช้ในการแก้ไขและควบคุมมลภาวะสิ่งแวดล้อมในอนาคตต่อไป เช่น การย่อยสลายสารกำจัด ศัตรูพืชที่มีฤทธิ์ตกค้างนานหรือการกำจัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

ประโยชน์ของป่าที่มนุษย์ต้องพึ่งพา
เห็ดโคน (Termitomyces sp.)
สร้างรายได้เสริม และเป็นอาหารอันโอชะ ที่มีคุณค่าซึ่งได้จากปลวก
Macrotermes Carbonarius เส้นใยที่จะพัฒนาเป็นเห็ดโคนซึ่งสร้างขึ้นภายในจอมปลวก เมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสม เห็ดโคนที่ขึ้นบนจอมปลวก Odontotermes Proformmosanus เห็ดโคนที่ขึ้นบนพื้นดิน ก้อนเชื้อราคาที่ปลวกเพาะเลี้ยงไว้ภายในรังใต้ดิน



โทษที่เกิดจากปลวก
ปลวกเป็นแมลงที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อ
1.      กล้าไม้และไม้ยืนต้น ในป่าธรรมชาติและป่าสวน
2.      ไม่ใช่ประโยชน์ที่อยู่กลางแจ้ง
3.      ไม่ใช่ประโยชน์ที่เป็นโครงสร้างภายในอาคารบ้านเรือน
4.      วัสดุสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆที่ทำมาจากไม้และพืชเส้นใยเช่นโต๊ะ ตู้ กระดาษหนังสือพรม และเสื้อผ้า เป็นต้น
5.      กัดทำลายรากของพืชเกษตร พืชไร่ พืชผัก พืชสวน และไม้ผล

ชนิดของปลวกที่เข้าทำลายไม้ใช้สอย
1.      ปลวกไม้แห้ง ที่สำคัญ คือ  Cryptotermes Thailandis ส่วนใหญ่พบเข้าทำความเสียหายรุนแรงต่ออาคารบ้านเรือน ที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเล หรือพื้นที่เกาะ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคใต้ และภาคตะวันออกของประเทศ
2.      ปลวกใต้ดิน ที่สำคัญ คือ Coptotermes gestroi และ Coptotermes havilandi ปลวกใต้ดินชนิด C. gestroi จัดเป็นปลวกชนิดที่มีความสำคัญทางเศษกิจสูงที่สุดในประเทศร้อยละ 90 ของอาคารที่ถูกทำลายเกิดจากการเข้าทำลายของปลวกชนิดนี้ และกว่า 90% พบเข้าทำความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนที่อยู่ในเขตเมือง นอกจากนี้ ปลวก Odontotermes Proformosanus และปลวกในสกุล Schedorhinotermes, Ancistrotermes และ microtermes อาจพบเข้าทำความเสียหายต่อไม้ใช้ประโยชน์ ภายนอกอาคารหรืออาคารบ้านเรือนที่อยู่ในเขตชนบท
ปลวก Coptotermes Gestroi และโครงสร้างไม้ที่ถูกทำลายเสียหายรุนแรง
3.      ปลวกสร้างรังขนาดเล็ก ที่ สำคัญคือ Microcerotermes crassus และ nasutitermes sp. พบเข้าทำความเสียหายต่อไม้ใช้ประโยชน์ภานอกอาคารหรือในอาคารบ้านเรือนที่  อยู่ในเขตชนบท
4.      ปลวกสร้างรังขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ที่ สำคัญคือ Globitermes sulphureus, Macrotermes Gilvus และ Odontotermes longignathus มักพบเข้าทำความเสียหายต่อไม้ใบระโยชน์ภายนอกและไม้ในอาคารบ้านเรือนที่อยู่ในเขตชนบท
ช่องทางการเข้าทำลายของปลวกใต้ดิน
ตามรอยแตกร้าวของพื้นคอนกรีตและบันได หรือ รอยต่อระหว่างพื้นคอนกรีตและผนังอาคาร

ตามท่อทางเดินดินที่ปลวกสร้างขึ้นมาตามเสา หรือรอยเชื่อมต่อระหว่างพื้นดิน และผนังอาคาร



การป้องกันและกำจัดปลวก
การป้องกันและกำจัดปลวกสามารถดำเนินได้หลายวิธี คือ
เป็นการป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่น หรืออัดสารป้องกันกำจัดปลวกลงไปในพื้นดินเพื่อทำให้ภายไต้อาคารเป็นพิษปลวกไม่สามรถเจาะผ่านทะลุขึ้นมาได้ หรืออาจใช้สารเคมีกำจัดปลวก โรยและฉีดพ่นโดยตรง วิธีการฉีดพ่นด้วยสารเคมีป้องกันปลวกก่อนการปลูกสร้างอาคารสามารถให้ผลในการป้องกันปลวกใต้ดินได้ดีที่สุด
การฉีดพ่นสารเคมีเคลือบบนผิวดินและผิวไม้

การเจาะและอัดสารเคมีลงในดิน


ดำเนินการโดยการพ่น ทา แช่ จุ่ม หรือ อัด โดยใช้กำลังอัดเพื่อให้สารเคมีแทรกซึมเข้าไปในเนื้อไม้
การรักษาเนื้อไม้ด้วยการแช่ และการอาบนำยาโดยใช้กำลังอัด

โลหะผิวลื่น เช่น แผ่นอลูมิเนียม สามารถใช้เป็นแนวป้องกันไว้รอบๆเสา หรือรอยต่อระหว่างฐานล่างกับส่วนที่เป็นโครงสร้างไม้ เพื่อกั้นเส้นทางเดินของปลวกจากพื้นดินเข้าสู่อาคาร
เช่น เศษหินบท เศษแก้วบด หรือแผ่นตะแกรงโลหะ ปูรองพื้นอาคารในส่วนที่ติดพื้นดิน ทั้งหมด
แผ่นตะแกรงโลหะปูรองพื้นอาคาร (Termi-mesh stainless steel)


การใช้วัสดุหินบด
วิธีการไม่ง่าย - ไม่ยาก
นำเศษหินที่เหลือทิ้งจากโรงงานมาบดและร่อน ให้ได้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเม็ดดิน 1.7-2.4 มิลลิเมตร

ใช้หินที่ร่อนได้ขนาดแล้ว ปูรองพื้นหนา 5-10 ซม. แล้วเทพื้นคอนกรีตทับ

หลักการ

เป็นแนวทางใหม่ในการป้องกันกำจัดปลวก โดยมีหลักการดังนี้
ใช้สารเคมีออกฤทธิ์ช้า ที่มีความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมค่อนข้างต่ำ ซึ่งมีประสิทธิภาพ ในการขัดขวางกระบวนการตามธรรมชาติในการดำรงชีวิตของปลวก เช่น ยับยั้งขบวนการสร้างผนังลำตัว ซึ่งมีผลต่อการลดจำนนประชากรลงไปจนถึงระดับที่ไม่ก่อให้เกิด ความเสียหาย
* มีคุณสมบัติพิเศษที่ดึงดูดให้ปลวกเข้ามากิน และสามารถคงรูปอยู่ภายในตัวปลวกได้ดีในระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะเกิดการถ่ายทอดไปสู่สมาชิกอื่นๆภายในรังได

วิธีการใช้เหยื่อพิษ
ภายนอกอาคารภายในอาคาร
วิธีการใช้เหยื่อพิษ : อุปกรณ์, สำรวจเส้นทางปลวกโดยใช้ไม้เป็นเหยื่อล่อ, ฝังเหยื่อพิษในจุดที่พบปลวก, ตรวจเช็คการเข้าทำลาย และเปลี่ยนเหยื่อมใหม่จนกว่าจะไม่พบปลวกอีก, ลักษณะการตายของปลวกภายหลังการกินเหยื่อ
 
ขั้นตอนในการป้องกันการเข้าทำลายของปลวกในอาคารบ้านเรือน
สามารถแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
ก.     การป้องกันกำจัดก่อนและในระหว่างการก่อสร้าง มีขั้นตอนควรปฏิบัติดังนี้
1.1        ควรออกแบบอาคารให้มีการยกพื้นให้สูงจากระดับผิวดินไม่น้อยกว่า 18 นิ้ว เพื่อให้สามารถสังเกตเส้นทางเดินของปลวกที่จะขึ้นสู่ตัวอาคารได้ชัดเจน
1.2        จัดให้มีการระบายความชื้นและระบายอากาศภายใต้อาคาร อย่าให้เกิดเป็นหลุมบ่อหรือแหล่งสะสมความชื้นใต้อาคาร
1.3        ควรเลือกวัสดุหรือชนิดของไม้ที่มีความทนทานต่อปลวก เช่น ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้ตะเคียน หรือไม้ตำเสา และไม้หลุมพอ โดยเฉพาะบริเวณฐานรากของอาคาง
2.1        บริเวณพื้นที่ปลูกสร้างอาคาร ควรกำจัดเศษไม้ กิ่งไม้ ตอไม้ หรือวัสดุอื่นๆ ที่จะเป็นแหล่งอาหารล่อใจให้ปลวกเขามาอยู่อาศัยอยู่กินภายใต้อาคาร หรือบริเณรอบๆ
2.2         หมั่นเคลื่อนย้าย จัดเก็บข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่เก็บไว้เป็นระยะเวลานานๆ เช่น ในห้องเก็บของ หรือห้องใต้บันได
2.3         หมั่นตรวจตราร่องรอย หรือเส้นทางการเข้าทำลายของปลวกที่จะเข้าสู่ตัวอาคารก่อนที่จะเกิดความเสียหายรุนแรงขึ้น หากพบต้องดำเนินการกำจัดโดยเร็ว
ในโครงสร้างอาคารโดยเฉพาะส่วนที่เป็นคาน ตง คร่าว เพดาน วงกบ ประตูหน้าต่าง เป็นต้น ควรใช้อาบน้ำยา ซึ่งในกรณีที่ไม่สามารถอัดน้ำยาได้ อาจใช้กรรมวิธีการอาบน้ำยาไม้อย่างง่าย เช่น การฉีดพ่น การทา การจุ่ม และการแช่ก็ได้ อย่างไรก็ดี การอัดน้ำยาไม้โดยใช้กำลังอัดจะให้ผลในการป้องกันที่ยาวนานกว่าวิธีอื่นๆ
ในการป้องกันการเข้าทำลายของปลวกใต้ดิน เพื่อให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพสูง ควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือ
4.1        ใช้สารเคมีป้องกันปลวกฉีดพ่นหรือลาดลงบนพื้นผิวดินภายใต้ตัวอาคารให้ทั่ว ในอัดตราน้ำยาผสมตามความเข้มข้นที่กำหนด 5 ลิตรต่อทุกๆ  1 ตารามเมตร ก่อนปูพื้น หรือเทคอนกรีตสำหรับคานคอดิน ให้ขุดเป็นร่องกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร ลึกประมาณ 15-30 เซนติเมตรทั้งด้านในและด้านนอก แล้วจึงใช้น้ำยาผสมแล้วตามความเข้มข้นที่กำหนดเทราดลงไปตามร่องนั้น ในอัดตราน้ำยาผสม 5 ลิตรต่อทุกความยาวร่อง 1 เมตร
4.2        ฉีดพ่นหรือราดน้ำยาเคมีซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากที่ทำการถมดินหรือถมทราย แล้ว อัดพื้นให้แน่น ก่อนที่จะเทพื้นคอนกรีต
4.3        บริเวณรอบๆอาคาร ควรฉีดหรือพ่นน้ำยาป้องกันปลวกเป็นแนวป้องกันรอบนอกอาคารอีกครั้ง โดยใช้ยาผสมแล้วในอัดตรา 5 ลิตรต่อทุกระยะ 1  ตารางเมตร โดยรอบอาคาร



สำหรับอาคารแบบใต้ถุนสูงหรือบ้านชั้นเดียว
ให้ขุดดินตรงโคนเสา ตอม่อ ขนาดกว้างประมาณ 15-30 ซม. และตามท่อต่างๆที่ติดต่อระหว่างอาคารกับพื้นดินทุกแห่ง ให้เป็นร่องโดยรอบ ขนาดกว้าง 15-30 ซม. ลึก 20-30 ซม. แล้วเทน้ำยาลงไปในร่อง โดยใช้น้ำยาผสม 5 ลิตร ต่อทุกความยาวร่อง 1 เมตร หากใต้ถุนเทพื้นคอนกรีตหรือก่ออิฐถือปูน เช่นมีครัวที่ติดกับพื้นดินพื้นซักล้างและฐานรองรับบันไดบ้านจะต้องใช้น้ำยาเทราดให้ทั่วผิวดินก่อนปูพื้นคอนกรีต ก็จะป้องกันปลวกขึ้นอาคารบ้านเรือนได้อย่างดี

ข.      การป้องกันกำจัดในอาคารที่ปลูกสร้างเสร็จแล้ว
ขั้นตอนนี้ จะค่อนข้างยุ่งยากในการปฏิบัติมากกว่าการป้องกันก่อนการปลูกสร้างอาคารมากจำเป็นต้องมีผู้ชำนาญการโดยเฉพาะมาดำเนินการสำรวจการเข้าทำลายอย่างถี่ถ้วน แล้ววางแผนถึงวิธีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดในแต่ละจุดให้ทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามในการป้องกันกำจัดในระยะหลังการปลูกสร้างนี้ จะหวังผลเค็มที่ 100% ไม่ได้ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของโครงสร้างอาคารโดยทั่วไป มักมีจุดยากแก่การสำรวจซึ่งปลวกอาจหลบซ่อนอยู่ภายในส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารโดยที่เราสำรวจไม่พบ นอกจากนี้โครงสร้างของอาคารบางส่วนอาจเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการกำจัดในจุดที่จำเป็นก็ได้เช่นกัน

จุดสำคัญๆ ของโครงร้างอาคารที่ควรจะต้องคำนึงถึงในการใช้สารเคมี
1.      บริเวณขอบบัวของพื้นอาคารและพื้นไม้ปาร์เก้ โดยเฉพะตามมุห้องต่างๆ บริเวณพื้นใต้บันได  ผนังอาคาร หลังตู้เก็บของ ห้องเก็บของที่ไม่มีการเคลื่อนย้ายเป็นเวลานานๆ
2.       บริเวณท่อระบายน้ำทิ้งและท่อสุขภัณฑ์ ซึ่งมักจะก่อผนังปิดหุ้มท่อไว้ เป็นจุดหนึ่งที่ปลวกทำทางเดินจากพื้นดินขึ้นไปตามขอบท่อ ในการใช้สารกำจัดปลวกจำเป็นต้องมีการเจาะผนังช่องว่างดังกล่าวด้วยสว่านไฟฟ้า แล้วอัดน้ำยาเคมีเข้าไปเพื่อทำลายรังภายในไม่ให้ปลวกเข้าไปอาศัยหรือทำทางเดินขึ้นไปได้อีก
3.        บริเวณรอยแตกของเสาไม้ ผนัง หรือพื้นคอนกรีต จำเป็นต้อนใช้เข็มฉีดยาฉีดอัดน้ำยาป้องกันกำจัดปลวกเข้าไปในแต่ละจุด เพื่อไม่ให้ปลวกแรกผ่านเข้ามาได้
4.        บริเวณคร่าวเพดาน และฝาสองชั้น ที่มักจะบุด้วยไม้อัด หรือใช้ไม้เนื้ออ่อนและมักจะถูกปลวกเข้าทำลายอยู่ภายใน หรือ บางครั้งจะทำรังอาศัยอยู่ภายในช่องว่างของผนังดังกล่าวจุดเหล่านี้จำเป็นต้องใช้สว่านเจาะไม้เจาะเป็นรูทุกระยะ 1 ฟุต ตามแนวคร่าว เพื่อฉีดพ่นน้ำยาเคมีเข้าไปให้ทั่วถึงในบางจุดอาจใช้ยาผงหรือฉีดพ่นได้ สำหรับการใช้สารกำจัดปลวกในโครงสร้างที่เป็นไม้นั้น หากใช้ตัวทำลายที่เป็นน้ำมัน เช่น น้ำมันก๊าด หรือน้ำมันซักแห้ง แทนน้ำจะช่วยให้การแพร่กระจายและการแทรกซึมของตัวยาเข้าไปในเนื้อไม้เป็นไปได้ดีขึ้น
5.       พื้นล่างของอาคารที่เป็นคอนกรีต จำเป็นจะต้องใช้สว่านไฟฟ้าเจาะคอนกรีต ขนาด 3-4 หุนเจาะพื้นอาคารให้ทะลุถึงพื้นดิน โดยเฉพาะตามบริเวณแนวคานคอดินทั้งด้านนอก ด้านใน และรอบๆเสาโดยเว้นระยะห่างทุกๆ 1 เมตรและพื้นที่ภายใต้อาคารทั้งหมดในระยะทุกๆ1 ตารางเมตร เพื่อฉีดพ่นหรืออัดน้ำยาลงไปในดินในอัดตราส่วนน้ำยาผสม 5 ลิตร ต่อทุกๆ 1 ตารางเมตรโดยอาจใช้อุปกรณ์เครื่องพ่นยาแรงสูง เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และการกระจายของน้ำยาได้อย่างสม่ำเสมอทั่วถึง ลักษณะของหัวฉีดที่ใช้ฉีดพ่นน้ำยาจะต้องมีรูเปิด 4 รู เพื่อให้น้ำยาไหลออกมาได้รอบทิศทาง

แผนผังแสดงลักษณะการราดน้ำยาป้องกันปลวกในอาคารลักษณะต่างๆ
ลักษณะการราดในอาคารพื้นติดดิน
 แนวคานคอดิน, ราดยาให้ทั่วพื้นที่ภายใต้อาคารและใต้แนวอาคาร, ราดยาโดยรอบระบบท่อต่างๆ ที่ติดดิน, ราดยารอบๆ อาคาร ในระยะห่าง 1 เมตร

ลักษณะการราดบริเวณอาคารที่มีการยกพื้น
ระดับพื้นดิน, ราดยา 5 ลิตรต่อเมตร, ยกพื้น 45 เซ็นติเมตร 

ลักษณะการราดบริเวณเสา หรือ คานคอดิน บริเวณอาคารที่ปลูกสร้างเสร็จแล้ว
 ราดยา 5 ลิตรต่อเมตร, อัดยาลงรู 5 ลิตรต่อเมตร, ลึก 30 เซ็นติเมตร



สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดปลวกทำลายไม้
1.1        Bifenthrin 240% (Biflex TC)
ใช้ในความเข็มข้น 0.05-0.1%
ผสม 1 ลิตรต่อน้ำ 240-480 ลิตร
1.2        Bifenthrin  2.5% (Chemdrite TC)
ใช้ในความเข็มข้น 0.05-0.1%
ผสม2-4 ลิตร ต่อน้ำ100 ลิตร (2.5%)
ผสม2.5-5 ลิตร ต่อน้ำ100 ลิตร (2%)
1.3        Permethrin 38.4 %
ใช้ในความเข็มข้น 0.5-1.0%
ผสม 2.75 ลิตร ต่อน้ำ 100 ลิตร
2.1        Alphacypermethrin
ใช้ในความเข็มข้น 0.1-0.2%
ผสม 2.5-5.0 ลิตร ต่อน้ำ100 ลิตร (4%)
2.2        Cypermethrin
ใช้ในความเข็มข้น 0.5-1.0%
ผสม2-4 ลิตร ต่อน้ำ100 ลิตร (25%)
3.1  Chlopyrifos-ethyl
ใช้ในความเข็มข้น 0.5-2.0% (40%)
ผสม 1.25-5 ลิตร ต่อน้ำ100 ลิตร
4.1        Imidachlorpid
ใช้ในความเข็มข้น 0.05-0.1%
ผสม 250-500 ซีซี ต่อน้ำ100 ลิตร (20%)
4.2        Fipronil
ใช้ในความเข็มข้น 0.025-0.05%
ผสม 1-2 ลิตร ต่อน้ำ100 ลิตร (2.5%)

ตัวยาป้องกันรักษาเนื้อไม้
1.      ทิมบอร์ (Boric-Borax)
อัดน้ำยาในความเข้มข้น 5 %
2.      ซีซีเอ 3-5 กก/ม3
อัดน้ำยาในความเข้มข้น 5 %
3.      อิมพราลิท B1
อัดน้ำยาในความเข้มข้น 5 %
(แช่ใช้  15%)
4.      เชลล์ไดร้ท์ ป้องกันรักษาเนื้อไม้
ใช้ทาเนื้อไม้ได้โดยไม่ต้องผสม
5.      Chemdrite light Brown Bifenthrin 0.05%
ป้องกันรักษาเนื้อไม้
ใช้ทาเนื้อไม้ได้โดยไม่ต้องผสม
6.      Chemdrite colorless Bifenthrin  0.05%
ป้องกันรักษาเนื้อไม้
ใช้ทาเนื้อไม้ได้โดยไม่ต้องผสม

สารเคมีที่ใช้ป้องกันปลวกเป็นสารมีพิษ ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยซึมเข้าทางผิวหนัง สูดดมไอระเหย หรือละออง และเข้าทางปาก ผู้ปฏิบัติการใช้สารเคมีพึงระวัง และตระหนักถึงอันตรายตลอดเวลา

ข้อควรระวังและข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดปลวก

1.         เลือกชนิดของสารเคมีที่จะใช้ให้ถูกต้องกับนิดของศัตรู
2.         ตระหนักถึงความเป็นพิษของสารเคมี และปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลาก
3.         ทำความสะอาดร่างกายบริเวณที่ถูกสารเคมี และเปลี่ยนเสื่อผ้าที่เปรอะเปื้อน
4.         ดูแลรักษาเครื่องมือให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี เพื่อการทำงานที่ได้ผล และลดอันตราย
5.         ใช้เครื่องป้องกันอันตรายจากสารเคมีที่จะเข้าทางส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น หมวก สวมกันละออง ที่กรองหายใจ ถุงมือ รองเท้า และชุดทำงานที่มิดชิด
6.         ระวังการรับพิษสารเคมีทางผิวหนัง
7.         เลือกใช้ที่กรองหายใจให้เหมาะสมกับชนิดสารเคมี
8.         ไม้รับประทานอาหาร หรือสูบบุหรี่ขณะปฏิบัติงาน
9.         ใช้สารเคมีในอัดตราที่ระบุในฉลาก
10.     ไม่นำถังภาชนะบรรจุไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น
11.     ปิดฝาถังหรือภาชนะบรรจุเมื่อเสร็จงานทุกครั้ง
12.     ทำลายหรือฝังภาชนะบรรจุ ในที่เหมะสมและปลอดภัย
13.     ห้ามเด็กหรือผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่ขณะปฏิบัติงาน
14.     แจ้งให้ผู้อื่นทราบถึงพิษอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับตน และสัตว์เลี้ยง
15.     ปิดป้ายเตือนถึงอันตรายในบริเวณที่ได้ปฏิบัติงาน
16.     ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความรู้ความชำนาญในการใช้สารเคมี หรือได้ผ่านการอบรม
17.     เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว

สำนักวิจัยเศรษฐกิจและผลิตผลป่าไม้
โทร. 0-2561-4292-3 ต่อ 483, 487

ขอขอบคุณสำนักวิจัยเศรษฐกิจและผลิตผลป่าไม้


บริษัท แอนเทอร์ จำกัด
บริการกำจัดแมลง  ปลวก  มด  หนู และแมลงสาบ
32/3 หมู่1 ซ.นนทบุรี 22 ถ.นนทบุรี ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี
โทรศัพท์:   0 2968 0711
โทรสาร:    0 2968 0712
อีเมล:       niran_anter@hotmail.com
มือถือ     นิรันดร์  ศิริอาภรณ์ธรรม  081-641-8183